5th iTIC Forum 2024: Safe & Smart Mobility by Traffic Discipline

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน iTIC FORUM 2024 ครั้งที่ 5 สำเร็จลุล่วง ด้วยการเน้นย้ำความสำคัญของการสร้างวินัยจราจรด้วยเทคโนโลยี AI

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) ประสบความสำเร็จในการจัดงานสัมมนา “iTIC Forum 2024: Safe & Smart Mobility by Traffic Discipline” ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการพัฒนาวินัยจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน

iTIC Forum ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยจราจรและการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อพัฒนาความปลอดภัยในการเดินทางและการสัญจรอย่างยั่งยืน โดยมีการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดในการควบคุมวินัยจราจร เช่น การใช้ระบบ AI เพื่อตรวจจับผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีสำคัญในการเสวนาเรื่องความปลอดภัยทางการจราจร โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสวนาอย่างหลากหลาย

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานสัมมนาฯ ได้รับเกียรติกล่าวต้อนรับโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านได้กล่าวถึง Safe and Smart Society สังคมที่ปลอดภัยไม่ใช่แค่เพียงการทำงานที่ตอบโจทย์ Functional แต่ยังต้องสร้างความรู้สึกปลอดภัย Emotional แก่ผู้ใช้ โดยการส่งสัญญาณความปลอดภัยผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของสังคม เช่น การจราจรและโครงสร้างพื้นฐาน

คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

และคุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดงานและกล่าวแสดงความยินดี ในโอกาสที่วงการระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะของประเทศไทย โดยคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งได้พัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างปลอดภัย และยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยี่อัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ เช่น ข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อกล้องวงจรปิด จากหน่วยงานต่างๆ อันมีส่วนสำคัญทำให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองอัจฉริยะ” ผลงานที่คุณนินนาท ได้ทุ่มเทมาตลอด จนได้เป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดรางวัลหนึ่งในโลก แห่งวงการระบบขนส่งอัจฉริยะ Hall of Fame – Lifetime Achievement Award ในระหว่างงานประชุม ITS World Congress (Intelligent Transport System World Congress) ครั้งที่ 30 วันที่ 16 กันยายน ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งานระดับโลกนี้จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยสามหน่วยงานนานาชาติ ได้แก่ ITS Asia-Pacific, ERTICO (ITS Europe) และ ITS America รางวัล ITS Hall of Fame – Lifetime Achievement Award เป็นรางวัลหอเกียรติยศ ผู้นำทรงคุณวุฒิ ประสบความสำเร็จสูงสุดในด้าน ITS มีส่วนร่วมขับเคลื่อน และบรรลุผลของวิสัยทัศน์ในวงการ ITS (Intelligent Transport System) ในแต่ละภูมิภาค

คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ
ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย กล่าวถึง การพัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างปลอดภัย และยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ เช่น ข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อกล้องวงจรปิด จากหน่วยงานต่างๆ อันมีส่วนสำคัญทำให้กรุงเทพฯ เป็น “Smart City” รวมไปถึงการสร้างระบบข้อมูลที่เปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นการเพิ่มพลังแห่งการเชื่อมต่อ (Power of Connectivity) และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยของสังคม

พันโท ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง
นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย

หนึ่งในไฮไลท์ของงาน iTIC Forum คือการบรรยายพิเศษโดย พันโท ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งได้นำเสนอหัวข้อ “ระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการคมนาคมที่ชาญฉลาดและปลอดภัย” ซึ่งสะท้อนถึงการนำระบบ ITS (Intelligent Transport System) มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงความปลอดภัยและการจัดการจราจรในประเทศไทย สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และการใช้ AI ในการจัดการจราจร พัฒนาเมืองให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัย ส่งเสริมระบบข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ใช้งานง่ายและเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมาตรฐานการคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

อีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจคือการบรรยายเรื่อง “อุบัติเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย และแนวทางการแก้ไข” โดย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเน้นเรื่องความเสี่ยงของการไม่สวมหมวกนิรภัยและมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหา การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อปรับพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน การนำ AI มาช่วยตรวจจับเพื่อประเมินและวางแผนในแต่ละพื้นที่ โดยอาจจะใช้วิธีการมอบรางวัลให้แก่พื้นที่ที่ทำดี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่อย่างไรก็ตามการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในทุกภาคส่วน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนเป็นสิ่งที่สำคัญ

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาอันมีประโยชน์ในหัวข้อ “การสร้างวินัยจราจร โดยใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัย” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน

  1. นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนและเลขาธิการมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย กล่าวถึง การเสนอใช้ AI และการเสริมมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับพฤติกรรมของสังคมไทย โดยเน้นเรื่อง ความปลอดภัยจราจร เช่น 1. การใช้ AI ช่วยในการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย พร้อมสร้างแรงสนับสนุนจากชุมชน 2. การจัดอันดับมาตรการต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ทั้งนี้ยังได้แนะนำให้มีการประกบ ทีมพื้นที่ (เทศบาลพัทยา, ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา ฯลฯ) อาจจะเริ่มที่ เมืองพัทยา เพราะท่านรองปลัด ท.พัทยา (ดร.ศิวัช) ดูสนใจอยากจะดำเนินการ และถ้าเป็นไปได้ ระบบ CCTV ที่ทาง iTIC ไปหนุน สะท้อนผลใส่หมวก เพื่อสะท้อนไปที่ท้องถิ่น ให้ขยับ ต้นน้ำ (ชุมชน/องค์กร) กลางน้ำ (ตำรวจ) ไปพร้อมกัน
  2.     ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการกลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม  & ที่ปรึกษานายกสมาคมระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะไทย กล่าวถึง การใช้เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (AI CCTV) ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเน้นการประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น Smart Mobility, Smart Living, Smart Healthcare, Smart Infrastructure และ Smart Enviro การพัฒนาเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตในเมือง ผ่านการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้งานในระบบต่าง ๆ
  3. คุณประยูร ภู่แส รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวถึง ข้อมูลสถิติและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย โดยเฉพาะการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ในปี 2566 ข้อมูลระบุว่า ช่วงเวลา 18.00 – 05.59 น. เป็นช่วงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด นอกจากนี้มีการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนใบสั่งกับจำนวนการเสียชีวิตในแต่ละจังหวัด โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ การไม่มีใบขับขี่, การไม่สวมหมวกนิรภัย, และการขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งทาง RVP เห็นว่ามาตรการลดความเสี่ยงที่คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในด้านการตรวจสอบใบขับขี่และการสวมหมวกนิรภัย รวมถึงการส่งเสริมการใช้กล้องและเทคโนโลยีตรวจจับเพื่อช่วยในการบังคับใช้กฎหมาย
  4.     ศ.ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศ ThaiRAP คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง โครงการ ThaiRAP การใช้ระบบดาวเพื่อวัดความปลอดภัยของถนน ซึ่งพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ขณะนี้มาตรฐานความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยต่ำกว่ามาตรสากล หากลงทุนปรับถนนในเมืองไทยให้เป็น 3 ดาว ซึ่งมองว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน 3.4 เท่า “ข้อมูลเป็นเข็มทิศที่ชี้นำการจัดการที่มีประสิทธิภาพ หากไม่มีข้อมูล วิธีแก้ปัญหาก็เป็นเพียงการคาดเดา”
  5.     ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา กล่าวถึง เมืองพัทยาเองมีระบบจัดการการจราจรที่ปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจรจริง และใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวังและบริหารจัดการพื้นที่ มีการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการเมืองและรวมระบบกล้องวงจรปิดเพื่อการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการบริหารจัดการจราจรโดยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่
  6.     พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย ประธานคณะกรรมการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน โดยต้องมีการบังคับใช้กฎหมายต้องให้ถึงที่สุด ไม่ใช้เพียงแค่ออกใบสั่ง

โดยมี ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบัตรโดยสาร (MRTA) เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเสวนา

ภาพบรรยากาศ iTIC FORUM 2024
ดาวน์โหลดเอกสารงาน iTIC FORUM 2024

กําหนดการงานสัมมนาโดยมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

5th iTIC Forum 2024: Safe & Smart Mobility by Traffic Discipline

ประมวลภาพภายในงาน

กล่าวแนะนำมูลนิธิฯ โดย รศ. ดร. สรวิศ นฤปิติ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

กล่าวถึงผลงานที่ผ่านมาและวัตถุประสงค์งานสัมมนา

โดย คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย

“ระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการคมนาคมที่ชาญฉลาดและปลอดภัย”

โดย พันโท ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย

“อุบัติเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย และแนวทางการแก้ไข”

โดย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

ช่วงเสวนา: ดร. ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการกลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม และที่ปรึกษานายกสมาคมระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะไทย

ช่วงเสวนา: นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนและเลขาธิการมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย

ช่วงเสวนา: คุณประยูร ภู่แส รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

ช่วงเสวนา: ศ.ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศ ThaiRAP คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงเสวนา: ดร.ศิวัช บุญเกิด​ รองปลัดเทศบาลเมืองพัทยา